พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 19 กันยายน 2559
เวลา 14.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
       วันนี้เรียนเรื่องรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา โดยมีรูปแบบดังนี้


          จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาลองออกแบบแผ่นพับการให้ความรู้ผู้ปกครองแบบคราวๆ ตามความเข้าใจของตนเอง แล้วให้ตัวแทนออกมานำเสนอ




การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปทำแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองได้

การประเมิน
      วันนี้สนุกและได้ความรู้จากความคิดเพื่อนๆ เยอะมาก

คำถามท้ายบทที่ 5
1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ข่าวสารประจำสัปดาห์ จดหมายข่าวและกิจกรรม ป้ายนิเทศ และการสนทนา
2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ นิทรรศการ ป้ายนิเทศ ระบบอินเทอร์เน็ต จุลสาร การประชุม ห้องสมุดผูปกครอง มุมผู้ปกครอง คู่มือผู้ปกครอง
3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ เข้าไปสอบถามถึงสาเหตุ พร้อมอธิบายเหตุผลให้ผู้ปกครองเข้าใจ และบอกถึงผลกระทบที่อาจส่งผลถึงบุตรของผู้ปกครองท่านนั้น
4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี  
5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ สื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด



ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 12 กันยายน 2559
เวลา 14.30 - 17.30 น.



หมายเหตุ : งดการเรียนการสอน

ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน 2559
เวลา 14.30 -17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
        วันนี้เรียนโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ เพื่อให้ทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ โดยมีโครงการดังนี้
โครงการการให้ความรู้แแก่ผู้ปกครองในประเทศไทย มีโครงการแม่สอนลูก โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธืเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว "บ้านล้อมรัก" โครงการหนังสือเล่มแรก โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ 
   โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล 
     - โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
     - โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
     - โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
   โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
     - โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 
     - โครงการเฮดสตาร์ท (Head Start)
     - โครงการโฮมสตาร์ท (Home Start Program)
     - โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
     - โครงการ Brooklyne Early Childhood
   โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
     - โครงการเพลย์เซ็นเตอร์ 
     - โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
     - โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
   โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
   โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
   โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)

การนำไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปจัดโครงการเพื่อให้ความรู้กับเด็กในอนาคตได้

การประเมิน
    วันนี้เนื้อหาเรียนพอดี บรรยากาศในห้องเย็นสบาย

ภาพกิจกรรม



คำถามท้ายบทที่ 4
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ ให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ 
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ จัดให้ความรู้ผู้ปกครองบ่อยๆ โดยเราเป็นแกนนำพาปฏิบัติ และลงเยี่ยมบ้าน คอยให้คำปรึกษากับผู้ปกครองตลอด
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 1. เรื่องพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองสังเกตและดูตามแผนพัฒนาการของเด็ก
         2. ความคิดสร้างสรรค์
         3. การเรียนรู้
         4. การเลี้ยงดู
         5. ทักษะ
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ทำให้เด็กเป็นที่มีความฉลาด ช่างสังเกต ไม่ก้าวร้าว รู้จักช่วยเหลือ แบ่งปัน มีน้ำใจ
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เยี่ยมบ้าน สัมภาษณ์ และพุดคุยกับผู้ปกครองเวลามารอรับลูก




วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559
เวลา 14.30 - 17.30 น.

เนื้อหาการเรียน
         วันนี้เริ่มการเรียนด้วยการเล่นเกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร มีเกมสื่อความหมาย เกมกระชิบสื่อความหมาย เกมคำใบ้สื่อความหมาย และเกมใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร กับใคร แล้วเริ่มเรียนเนื้อหาของวันนี้เกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ว่าจะมีวิธีการสื่อสารอย่างไรให้ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจ เวลาขอความช่วยเหลือหรือบอกพัฒนาการของเด็กให้ผู้ปกครองทราบ หรือเวลาสั่งการบ้านเด็ก เนื่องจากคนแต่ละคนก็มีพื้นฐานไม่เหมือนเดิม






การนำไปประยุกต์ใช้
        สามารถนำการเรียนวันนี้ไปปรับใช้ในอนาคตได้ ถึงการพูด การสื่อความหมายให้เกิดประสิทธิภาพ

การประเมิน
        วันนี้เรียนสนุก และตั้งใจเรียนมากกว่าปกติ

คำถามท้ายบทที่ 3
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
   - ความหมายการสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
       ความสำคัญทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ และช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2. การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
    1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
  2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
  3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
  4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
  5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
    - ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)ข้อมูลข่าวสาร (Message)สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
ผู้รับข่าวสาร (Receivers) ความเข้าใจและการตอบสนอง
4. ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
    -  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
      •เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
      •มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
      •เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
      •เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
      •ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
      •เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5. ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
    - 1.ความพร้อม  คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้ พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้  
      2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
  
3. อารมณ์และการปรับตัว คือ  แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ  อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด  ซึ่งอารมณ์ทั้ง 2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้  
      4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  เช่น ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี  
      5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
      6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น    - จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้    - ช่วงเวลาในการจัดให้ความรู้ ควรมีเวลาที่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม  
      7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ